My Slideshow: Me’s trip from กรุงเทพมหานคร (กทม.), ไทย to was created by TripAdvisor. See another ไทย slideshow. Create your own stunning slideshow with our free photo slideshow maker.

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

ปรเจคเตอร์ (Projector)
       โปรเจคเตอร์ คือ อุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์, เครื่องเล่นวีซีดี,เครื่องเล่นดีวีดี, และเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ โดยมีระดับราคาที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ ระดับประมาณ 50,000 - 300,000 บาทขึ้นอยู่กับความละเอียดและความสว่างของเครื่องซึ่งปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในงานราชการ,สถานศึกษาสำนักงานหรือบริษัทเอกชนรวมไปถึงการใช้งานเพื่อการตอบสนองความต้องการในด้าน Home Entertainment โดยใช้เชื่อมต่อเป็น Home Theater เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสสำหรับความบันเทิงในบ้าน
ปัจจุบันสามารถแบ่งโปรเจคเตอร์ออกเป็น 2 แบบตามระบบการแสดงภาพ
แบบ LCD (Liquid Crystal Display)
แบบ DLP (Digital Light Processing)
1โปรเจกเตอร์แบบ LCD แบ่งเป็น 2 แบบ
     1.1 แบบ Single LCD
     1.2แบบ Poly Si
2. โปรเจกเตอร์แบบ DLP

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู


เน็ตบุ๊คคือ
  • คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กประมาณ 8.9 นิ้ว บางค่ายก็มี 10 นิ้ว
  • ใช้ซีพียูของ Intel Atom เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่สามารถเทียบความเร็วกับ Core 2 ได้เลย
  • จำกัดแรม ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 GB
  • ฮา ร์ดดิกส์ อาจเป็นได้ทั้ง hard disk หรือ ใช้ เทคโนโลยีโซลิด สเตท SSD ซึ่งมีความจุต่ำมาก เมื่อเทียบกับ hard disk ปกติ เน็ตบุ๊คบางรุ่น บางยี่ห้อก็ได้ hard disk เหมือนกัน
  • มี Wireless, Web Cam, BlueTooth
  • ส่วนใหญ่ไม่มี CD-ROM Drive
  • น้ำหนักต่ำกว่า 2 KG
  • สำหรับราคาคือ หลักหมื่น
ความสามารถของ เน็ตบุ๊ค (Netbook)
ชื่อ ก็เป็นตัวบ่งบอกแล้วว่า คือ เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ต นั่นเอง? นั่นหมายความว่า เหมาะสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่สำหรับเล่นเกมส์ ดังนั้น สำหรับน้องๆ ที่จะตั้งใจซื้อเพื่อไปเล่นเกมส์ก็คงผิดหวังเป็นอย่างแรง และอีกวัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งของผู้ผลิตก็คือ สำหรับนิสิตนักศึกษา รวมทั้งเหมาะสำหรับงานพรีเซ็นเทชั่น เท่านั้นเอง ..


วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

เครื่องบินขับไล่ เป็นอากาศยานทางทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อการต่อสู้ทางอากาสกับอากาศยานลำอื่นเป็นหลัก มันตรงกันข้ามกับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีภาคพื้นดินโดยการทิ้งระเบิดเป็นหลัก เครื่องบินขับไล่นั้นมีขนาดเล็ก รวดเร็ว และคล่องแคล่ว เครื่องบินขับไล่มากมายจะมีความสามารถรองในการโจมตีภาคพื้นดิน และบ้างก็มีสองบทบาทโดยเรียกว่าเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด บางครั้งคำว่าเครื่องบินขับไล่ก็ถูกใช้ร่วมกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน เครื่องบินขับไล่โดยหลักแล้วจะหมายถึงเครื่องบินติดอาวุธที่แย่งครองความเป็นจ้าวทางอากาศเหนือข้าศึกในสมรภูมิ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ความสำเร็จและความเหนือกว่าทางอากาศได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของสงคราม โดยเฉพาะสงครามทั่วไประหว่างกองทัพปกติ (ไม่เหมือนกับสงครามกองโจร) การซื้อขาย การฝึก และการดูแลรักษากองบินเครื่องบินขับไล่จะแสดงถึงทุนที่มากมายของกองทัพนั้นๆ
ศัพท์เฉพาะทาง
คำว่า"ไฟเตอร์" (อังกฤษ: fighter) ไม่ได้เป็นคำที่ใช้ภาษาอังกฤษอย่างทางการจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในกองบินของสหราชอาณาจักรเครื่องบินเหล่านี้ถูกเรียกว่า "เครื่องบินสอดแนม"(อังกฤษ: scout) จนถึงช่วงต้นปี พ.ศ. 2463 กองทัพบกสหรัฐอเมริกา เรียกเครื่องบินขับไล่ว่า "pursuit" อันหมายถึงเครื่องบินติดตาม(การใช้ชื่อนำหน้าเครื่องบินในยุคนั้นจึงเป็นตัว P) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2459 จนถึงปลายปีพ.ศ. 2483 ในภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมนีจะใช้คำที่หมายความว่า "นักล่า" สิ่งนี้ถูกใช้ตามมากมายในภาษาอื่น ๆ ยกเว้นในภาษารัสเซียซึ่งเครื่องบินขับไล่ถูกเรียกว่า "истребитель" (ออกเสียงว่า "อิสเตรบิเตล")ซึ่งหมายความว่า "ผู้ทำลาย"
ถึงแม้ว่าคำว่า "เครื่องบินขับไล่" หรือ "ไฟเตอร์" ทางเทคนิคแล้วจะหมายถึงเครื่องบินที่ถูกออกแบบมาเพื่อยิงเครื่องบินลำอื่น การออกแบบดังกล่าวยังเป็นแบบหลากหลายบทบาทอย่างเครื่องบินขับไล่โจมตีและเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินที่ขนาดเล็กกว่า ตัวอย่างเช่น ในสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาพึงพอใจในเครื่องบินขับไล่มากกว่าเครื่องบินดำทิ้งระเบิด และพี-47 ธันเดอร์โบลท์ก็เป็นที่นิยมใช้ในการโจมตีภาคพื้นดิน เอฟ-111 ถูกใช้เพื่อเป็นเพียงเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดเท่านั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดโดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงบทบาทในการทิ้งระเบิดในระยะไกล ความไม่ชัดเจนนี้ได้ตามมาด้วยการใช้เครื่องบินขับไล่ในการโจมตีทหารราบและสิ่งก่อสร้างด้วยการใช้การยิงกราดลงมาจากฟ้าหรือทิ้งระเบิด
หนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่แพงที่สุดอย่างเช่น เอฟ-14 ทอมแคท และ เอฟ-15 อีเกิล ถูกใช้เป็นเครื่องบินสกัดกั้นในทุกสภาพอากาศเช่นเดียวกับการเป็นเครื่องบินขับไล่ครองอากาศ มีเพียงตอนช่วงท้ายเท่านั้นที่พวกมันมาทำหน้าที่อากาศสู่พื้น เครื่องบินขับไล่/โจมตี หลายภารกิจอย่าง เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท มักถูกกว่าและทำหน้าที่ในการโจมตีภาคพื้นดิน หรือในกรณีของเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ทจะเข้าแทนที่เพราะความสามารถที่หลากหลายเป็นพิเศษของเครื่องบิน

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในฮ่องกง
ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่น MP3 iPod พีดีเอ กล้องดิจิตอล หรือเกมและของเล่นเด็ก ทุกอย่างล้วนสามารถหาได้ในฮ่องกง มีแบรนด์หลากหลายและสินค้ามากมายให้เลือกซื้อจนคุณต้องตะลึง พบกับราคาปลอดภาษีและส่วนลดพิเศษ ที่ช่วยให้คุณช้อปได้อย่างสบายใจสบายกระเป๋า
ร้านขายสินค้าไลฟ์สไตล์สุดพิเศษตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงในบ้าน บนสองข้างทางของถนนในฮ่องกง มีร้านขายเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือตั้งอยู่เรียงราย ประชันกับร้านขายเครื่องประดับ อุปกรณ์เครื่องเสียง วีดิโอ และอุปกรณ์ถ่ายภาพ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวอยากซื้อมาบันทึกภาพความประทับใจขณะอยู่ในฮ่องกง

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
-โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
-โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัมปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน

ผู้ติดตาม